วันจันทร์

สรุปวิจัยและโทรทัศน์ครู

สรุปวิจัย

ชื่อวิจัย : ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย
The Result of Providing Natural Color Learning Activity on Young Children Scientific Basic Skills
โดย :  ยุพาภรณ์ ชูสาย  Yupaporn Choosai
ดร.สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์  Dr.Suchinda Kajonrungsilp
ชูศรี วงศ์รัตนะ Chusri Wongrattana
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง
สมมุติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
วิธีดาเนินการวิจัย
การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปีศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้
1. เลือกกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนทั้งหมด 6 ห้องเรียน โดยวิธีการจับฉลากมา 1 ห้องเรียน ได้นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 จานวน 30 คน
2. จากกลุ่มตัวอย่างในข้อ 1 สุ่มอย่างง่ายอีกครั้ง ด้วยการจับสลากเพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง จานวน 15 คน
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการ ใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยอยู่มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้ง โดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด
2. หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์สูงขึ้นกวาก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
อภิปรายผล
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์ที่นามาใช้เป็นรูปแบบการเรียนการสอนอย่างหนึ่งซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การทดลองที่เปิด โอกาสให้เด็กทากิจกรรมด้วยตนเองเป็นการเรียนการสอนที่ให้อิสระแก่เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูคอยแนะนาและ ช่วยเหลือให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ เป็นวิธีที่ให้เด็กสามารถปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการทางความคิด ค้นคว้าหาความรู้ และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการทดลองสีจากธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมการ สังเกต การจำแนกประเภท การหามิติสัมพันธ์ การลงความเห็นข้อมูล เด็กได้ใช้ความคิดและสัมผัสสื่อที่หลากหลาย ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ทามาเป็นตัวแปรตามเพื่อให้เด็กปฐมวัยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้เกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มี 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการหามิติสัมพันธ์ และทักษะการลงความเห็นข้อมูล ซึ่งสามารถอภิปรายได้ ดังนี้
ด้านทักษะการสังเกต พบว่าก่อนการทดลองทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการสังเกตมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.33 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.20 จะเห็นได้ว่าทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองจะสูงขึ้น เนื่องมาจากในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาตินั้นเป็นลักษณะการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองโดยเด็กเป็นผู้ลงมือกระทาด้วยตนเองในการใช้ประสาทสัมผัส เช่น การดู การสัมผัส การชิมรส ด้วยการลงมือทดลองด้วยการกระทาให้สิ่งต่างๆ ที่นามา เช่น ดอกไม้ ผัก ผลไม้ มาทาให้เกิดสี เด็กจะได้กระทาด้วยกระบวนการต่างๆ จนเกิดสี และเด็กจะทราบว่า สีต่างๆ เกิดจากอะไรบ้าง เช่น ในสัปดาห์ที่ 5 เด็กนำใบเตยมาทาให้เกิดสีเขียวและนำฝรั่งมาทาให้เกิดสีก็เป็นสีเขียวด้วยเช่นกันเด็กๆ ก็จะสังเกตเห็นว่าทั้งผัก ใบไม้ และผลไม้ ก็สามารถทาให้เกิดสีเดียวกันได้ และยังให้เด็กแยกได้ถึงรสชาติที่แตกต่างกันออกไปโดยสามารถบอกได้สิ่งที่เด็กลงมือทดลองนั้นทาให้เกิดสีอะไรมีเหตุผลที่สามารถตอบได้ด้วยตนเองที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงและมีการกระทาร่วมกับเพื่อนๆ อีกด้วย เช่นการลงมือปฏิบัติด้วยการทาขนมบัวลอยหลากสี ในสัปดาห์ที่ 4 โดยการใช้สีที่ได้จากที่เด็กทดลอง ได้แก่ สีเหลืองจากดอกคาฝอยและดอกโสน สีม่วงจากดอกอัญชัน สีชมพูจากดอกเข็ม เด็กจะสังเกตเห็นว่าเมื่อนาสีผสมลงไปในแป้งสีของแป้งจะเปลี่ยนเป็นสีที่นาไปผสมลง เด็กๆจะตื่นเต้นกันมากในการลงมือปฏิบัติซึ่งเด็กจะได้ทั้งการสัมผัส มองเห็น ชิมรส ดมกลิ่น และการเปลี่ยนแปลงของแป้งเมื่อยังดิบและเมื่อสุกแล้วเด็กสามารถบอกได้ว่ากระบวนการทาเริ่มจากอะไรและได้ผลเป็นอย่างไร เพราะอะไร
ด้านทักษะการจำแนกประเภท พบว่าก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 6.00 และหลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.73 จะเห็นได้ว่าหลังการทดลองจะสูงขึ้นเนื่องมาจากในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาตินั้นเป็นลักษณะการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองโดยเด็กเป็นผู้ลงมือกระทาด้วยตนเอง ในการใช้วิธีการแบ่งพวกเรียงลาดับวัตถุโดยใช้ความเหมือนความแตกตางหรือความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ และด้วยการลงมือทดลองด้วยการกระทาให้สิ่งต่างๆ ที่นามา เช่น ผัก ผลไม้ มาทาให้เกิดสี เด็กได้กระทาด้วยกระบวนการต่างๆ จนเกิดสี และเด็กจะทราบว่า สีต่างๆ เกิดจากและดอกไม้สีต่างๆ เช่น เด็กนาเอา ใบย่านางมาทาให้เกิดสีเขียว และนาเอาดอกอัญชันมาทาให้เกิดสีก็เป็น สีม่วง เด็กๆ ก็จะบอกได้ว่าทั้งผัก ใบไม้ และผลไม้ ก็สามารถทาให้เกิดสีได้เช่นเดียวกันแต่มีสีที่แตกต่างกันหรือสีเดียวกันได้ และยังให้เด็กแยกได้ถึงรสชาติที่แตกต่างกันออกไปโดยสามารถบอกได้ถึงสิ่งที่เด็กลงมือทดลองนั้นทาให้เกิดสีอะไรมีเหตุผลที่สามารถตอบได้ด้วยตนเองที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงและมีการกระทาร่วมกับเพื่อนๆ อีกด้วย อย่าง เช่น ในสัปดาห์ที่ 6 หน่วยน้าหวานสีแดง เด็กลงมือปฏิบัติเครื่องดื่มที่มีสีต่างๆ โดยนาเอาสีแดงจากแตงโม กระเจี๊ยบ สตรอเบอร์รี่และมะเขือเทศ โดยที่เด็กได้เรียนรู้วิธีการนาสีที่ตนเองได้ทดลอง มาผสมน้าหวานและน้าแข็ง ก็จะได้เครื่องที่เด็กๆ ชื่นชอบ ทาให้เด็กทักษะในการทางานสามารถบอกได้ว่าเครื่องดื่มสีไหนทาจากอะไร และสามารถนาไปทาประโยชน์อะไรได้บ้าง
ด้านทักษะการหามิติสัมพันธ์ พบว่าก่อนการทดลอง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.80 และหลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.60 จะเห็นได้ว่าทักษะการหามิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองจะสูงขึ้น เนื่องมาจากในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาตินั้น เป็นลักษณะการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองโดยเด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเองในการใช้ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆ ของวัตถุหรือบอกตำแหน่งของวัตถุ ได้แก่ รูปร่างหรือรูปทรงขนาด ระยะทางตำแหน่งพื้นที่หรือสถานที่หรือความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ และด้วยการลงมือทดลองด้วยการปฏิบัติให้สิ่งต่างๆ ที่นามา เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้ มาทาให้เกิดสี เด็กจะได้ปฏิบัติด้วยกระบวนการต่างๆ จนเกิดสีทาให้เด็กทราบว่าสีต่างๆ เกิดจากผักผลไม้และดอกไม้สีต่างๆ เช่น เด็กนาเอาดอกกระเจี๊ยบ แตงโมและมะเขือเทศ นามาทาให้เกิดสีแดง เด็กๆ สามารถบอกได้ว่าทั้งผัก ใบไม้ และผลไม้ ก็สามารถทาให้เกิดสีได้เช่นเดียวกัน แต่มีสีที่แตกต่างกันหรือสีเดียวกันได้ และเด็กยังแยกได้ถึงรสชาติที่แตกต่างกันออกไปโดยสามารถบอกได้ถึงสิ่งที่เด็กลงมือทดลองนั้นทาให้เกิดสีอะไรมีเหตุผลที่สามารถตอบได้ด้วยตนเองจากการที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงและมีการลงมือปฏิบัติร่วมกับเพื่อนๆ อีกด้วยเช่นในสัปดาห์ที่ 8 เรียนเรื่องอาหารหลากสี เด็กนาเอาดอกอัญชัน ดอกคาฝอย ใบเตย เม็ดลูกผักปรัง มาทาให้เกิดสี แล้วนาสีที่ได้ไปทาขนมถั่วแปบหลากสี ซึ่งการทาขนม ใช้การผสมแป้งกับสี แล้วนาไปปั้นให้เป็นลูกกลมๆ ก่อนแล้วจึงแผ่แป้งให้เป็นแผ่นบางแต่ยังคงอยู่รูปร่างทรงกลม เด็กได้ลงมือปฏิบัติครูคอยใช้คาถามถามเด็กถึงสิ่ง เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเริ่มแรกเด็กก็ยังตอบคาถามว่าเราปั้นลูกขนมเป็นรูปอะไรเหมือนกับอะไร เด็กๆ ก็จะตอบว่าเหมือนสิ่งของต่างๆ เด็กจะสนุกสนานกับการได้ลงมือปฏิบัติ
ด้านทักษะการลงความเห็นข้อมูล พบว่าก่อนการทดลองทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการลงความเห็นข้อมูล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.27 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.87 จะเห็นได้ว่าทักษะการลงความเห็นข้อมูลของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองจะสูงขึ้น เนื่องมาจากในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาตินั้น เป็นลักษณะการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง โดยเด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ในการใช้ความสามารถในการอธิบายหรือแสดงความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผล ในการอธิบาย หรือสรุปผลจากข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การสัมผัส โดยใช้ความรู้หรือประสบการณ์เดิมและด้วยการลงมือทดลองด้วยการปฏิบัติให้สิ่งต่างๆ ที่นามา เช่น ผัก ผลไม้มาทาให้เกิดสีเด็กจะได้ลงมือปฏิบัติด้วยกระบวนการต่างๆ จนเกิดสี เด็กจะทราบว่า สีต่างๆ เกิดจากผัก ผลไม้และดอกไม้สีต่างๆ เช่น เด็กนาเอา ฟักทอง สับปะรด ข้าวโพด และมะเขือเทศ มาทาให้เกิดสีเหลือง แล้วนาสีที่ได้มาไปผสมทาเครื่องดื่ม เติมรสหวาน เค็มนิดหน่อย เด็กๆ ก็สามารถบอกได้ว่าทั้งผัก ใบไม้ และผลไม้ ก็สามารถทาให้เกิดสีได้และทาเป็นอาหารได้เช่นเดียวกัน แต่มีสีที่แตกต่างกันหรือสีเดียวกันได้ และเด็กยังสามารถแยกได้ถึงรสชาติที่แตกต่างกันออกไปโดยสามารถบอกได้ถึงสิ่งที่เด็กลงมือทดลองนั้นทาให้เกิดสีอะไรมีเหตุผลที่สามารถตอบได้ด้วยตนเองจากที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงและมีการกระทาร่วมกับเพื่อนๆ อีกด้วย

ข้อสังเกตที่ได้จากการวิจัยพบว่าในขณะที่เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมทดลองสีจากธรรมชาติในระยะ แรกเด็กๆ พูดคุยแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มยังน้อยเพราะยังไม่คุ้นเคยกับการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น เวลาใช้ครกตาดอกไม้เพื่อให้เกิดสีเด็กยังใช้เครื่องมือไม่ถนัด ครูต้องคอยชี้แนะในการใช้เครื่องมือต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย และใช้คาถามกระตุ้นให้เด็กกระตือรือร้นและสนใจในการทดลองมากยิ่งขึ้นและให้แรงเสริมด้วยการชมเชยในขณะที่เด็กทาได้หรือตอบคาถามได้ การทดลองผ่านไปหนึ่งสัปดาห์เด็กสามารถพูดคุยกันถึงเรื่องสี่ที่เกิดขึ้นว่าจะเอาไปทาอะไรต่อได้อีก บางคนก็บอกว่าเคยเห็น แม่ทาที่บ้านหรือบอกว่าจะหาวัตถุในการทาให้เกิดสีมาจากที่บ้าน หรือถามกันว่าบ้านใครมีอะไรบ้างที่น่าจะทาให้เกิดสีได้บ้างในช่วงสัปดาห์ที่ 4 เป็นการลงมือทาขนมบัวลอยหลากสีเด็กจะต้องใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะจะต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและมีการใช้หม้อตั้งไปต้มน้าให้เดือดมากๆ ครูและผู้ช่วยต้องสอนวิธีการใช้เครื่องต่างๆ อย่างละเอียดบอกถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นโดยครูจะเป็นผู้ติดไฟให้เด็ก และนาไปวางบนเตาไฟฟ้าและเมื่อเสร็จก็ยกลงให้กับเด็กด้วยเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น


สรุปโทรทัศน์ครู

ชีวิตทดลองได้ : อากาศ (ป.3) ดร.พรทิพย์ ศิริภัทราชัย
ชมการจัดการเรียนการสอนแบบ 5E ของ ดร.พรทิพย์ ศิริภัทราชัย รร.สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) ฝ่ายประถม ในการสอนเรื่องอากาศ สิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่ทำให้เด็กๆเข้าใจด้วยการทดลองให้เกิดการเรียนรู้ จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา แบบ 5E มีดังนี้ กระตุ้น สำรวจ สรุป ขยายความรู้ ประเมินผล เน้นการเปิดโอกาสให้เด็กถาม เพื่อเป็นนักแสวงหาความรู้ต่อไป 
ความคิดเห็น 
       เป็นเทคนิคการสอนที่น่าสนใจทำให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการเรียน เปิดโอกาสเด็กได้ถามในเรื่องที่ตนสังสัยมากขึ้น ช่วยให้เด็กๆส่งเสริมความรู้ ซึ่งจะมีทางด้านการส่งเสริมกระบวนการการคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้นักเรียนสนุกกับการเรียนรู้ ครูก็มีเทคนิคและวิธีการสอนที่ดีเพื่อยึดเด็กเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง
       ดี เพราะครูท่านนี้มีการเรียนการสอนแบบ5E จะเกิดกระบวนการคิดและจินตนาให้เกิดการเรียนของผู้เรียนและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น