วันพุธ

สัปดาห์ที่ 5

สัปดาห์ที่ 5
บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 5
       วิชา : การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
       วัน/เดือน/ปี : 18 กันยายน พ.ศ. 2557
       ครั้งที่ : 5 กลุ่มเรียน : 101 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 น. ห้องเรียน : 233


ชั่วโมงที่ 5 ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้อาจารย์สอนทำของเล่น

กิจกรรมในชั้นเรียน
อุปกรณ์     : 1.กระดาษ A4   
  2.ไม้ลูกชิ้นหรือไม้ตะเกียบ
  3.สีไม้หรือสีเมจิ 
  4.เทปใส

ขั้นตอนในการทำ


1. นำกระดาษ A4 1 แผ่น แบ่งออกเป็น 4 ส่วน


2. พับครึ่งกระดาษ ให้พอดีกัน


3. วาดภาพสิ่งที่เชื่อมโยงกัน ทั้ง 2 ด้าน
4. ระบายสีตกแต่งให้สวยงาม


5. พลิกกระดาษด้านที่ไม่มีรูปวาด นำไม้ลูกชิ้น หรือไม้ตะเกียบ มาวางแล้วติดเทปใส

6.พับกระดาษโดยให้รูปภาพอยู่ด้านนอก แล้วนำเทปใสมาติดตรงขอบ




7. ใช้มือจับที่ด้ามไม้ แล้วหมุน พลิกไป พลิกมา จะเกิดเป็นภาพที่เชื่อมโยงกัน


สรุป บทความของเพื่อน 


การนำไปประยุกต์ใช้
นำเทคนิคการสอนในการจัดกิจกรรมนำวัสดุใกล้ตัวที่สามารถหาได้ง่าย สามารถทำเองได้ มาประดิษฐ์เป็นของเล่นเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ และการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย การตั้งคำถามปลายเปิดไปใช้สอนกับเด็กๆ เพื่อให้เด็กๆได้รู้จักการคิด ได้กล้าที่จะตอบคำถาม และกล้าที่จะแสดงออก


การประเมินผล [Evaluation]
ประเมินตนเอง[Self] : อยู่ในระดับดี เพราะว่าดิฉันยังไม่ค่อยกล้าที่จะตอบคำถามอาจารย์ แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและตั้งใจจดบันทึก
ประเมินเพื่อน[Friends] : : อยู่ในระดับดี แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลาส่วนมากมีสายบางคน ตั้งใจเรียนและตั้งใจจดบันทึก
ประเมินอาจารย์[Teacher] : อยู่ในระดับดีมาก เพราะว่า อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในการที่จะสอนนักศึกษามาอย่างดี และอาจารย์ยังใช้วิธีการสอนแบบตั้งคำถามไปเรื่อยๆ ถามไปเรื่อยจนนักศึกษาจับใจความที่สำคัญได้แน่ชัด  


ความลับของแสง
สรุป วีดีโอ เรื่อง ความลับของแสง 
        แสง แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก มีความเร็วถึง 300000 กิโลเมตร/วินาที แสงจะช่วยให้มองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว ถ้าหากรอบตัวไม่มีแสงก็จะไม่สามารถมองเห็นวัตถุต่างๆได้ 
คุณสมบัติของแสง 

          การทดลองที่1 วิธีการทดลอง : นำกล่องใบใหญ่มีฝาปิด เจาะรูข้างๆกล่อง นำของต่างๆมาใส่กล่อง เช่น ตุ๊กตาจากนั้นปิดฝากล่อง แล้วมองผ่านรูที่เจาะจะไม่สามารถมองเห็น ตุ๊กตาเนื่องจากด้านในกล่องมีความมืดสนิท ค่อยๆเปิดฝากล่อง แล้วเจาะรูเพิ่ม เอาไฟฉายส่องไปในรูที่เจาะใหม่ จะเห็นของในกล่อง แสดงว่าเราจะสามารถมองเห็นวัตถุในกล่องได้ เพราะมีแสงส่องโดนวัตถุและแสงสะท้อนกระทบกับวัตถุเข้ามาที่ตาของเรา จึงสามารถมองเห็นวัตถุได้
        การทดลองที่ 2 วิธีการทดลอง : เปิดไฟในห้องมืด นำกระดาษแผ่นแรกวางคั่นแสงกับพื้นห้อง จะเห็นเพียงแสงที่ผ่านรูเท่านั้น แล้วลองเอาแผ่นที่ 2 ทับก็จะเห็นเพียงแสงที่ผ่านรูเหมือนกัน

          การทดลองที่ 3 วิธีการทดลอง : ส่องไฟจากภาพต้นแบบให้แสงผ่านรูเล็กๆ ภาพจะปรากฏบนกระดาษไข แล้วลองปรับภาพต้นแบบให้เลื่อนเข้า เลื่อนออก จะทำให้เกิดภาพเล็กภาพใหญ่ แต่จะเห็นเป็นภาพกลับหัวเพราะแสงวิ่งเป็นเส้นตรงตกกระทบด้านล่าง แล้วสะท้อนกลับด้านบนทำให้ภาพเป็นภาพกลับหัว จากการทดลองแสดงว่าคุณสมบัติของแสง คือ แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง ไปกระทบกับวัตถุและสะท้อนจากวัตถุเป็นเส้นตรงเหมือนกัน
        การสะท้อนของแสง 
          การทดลองที่1 วิธีการทดลอง : วางกระจกไว้ที่พื้น ฉายไฟฉายลงบนกระจกเงา แสงจะสะท้อนกลับมาเป็นแนวเส้นตรง เมื่อลองเปลี่ยนทิศทาง คือ หันแสงไปทางอื่นแสงจะสะท้อนไปทางตรงกันข้ามเสมอ เพราะลำแสงที่สะท้อนไปจะเป็นมุมที่เท่ากับมุมสะท้อนกลับ

     การทดลองที่2 วิธีการทดลอง : กระจกฮาไรโดสโคป นำกระจกเงา 3 บานมาติดกันให้เป็นสามเหลี่ยม เมื่อส่องภาพเข้าไปจะเกิดภาพมากมายเนื่องจาก การสะท้อนแสงและมุมกระจกจะทำให้เกิดภาพ การหักเหของแสง คือ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง เช่น การฉายแสงผ่านน้ำ ถ้าเป็นเส้นตรง แสงก็จะตรง ถ้าฉายแสงเฉียงแสงก็จะเฉียงตาม เนื่องจากน้ำมีความหนาแน่นมาก ทำให้แสงเคลื่อนที่ช้าการหักเหของแสงจะเดินทางจากมวลอากาศมาก ไปสู่มวลอากาศที่น้อย จึงเกิดการหักเห
          การทดลอง  อ่านหนังสือผ่านแก้วที่ใส่น้ำจนเต็ม จะพบว่าการหักเหของแสงจะกระจายออกทำให้ตัวหนังสือที่เห็นใหญ่ขึ้น

การทดลองการหักเหของแสงโดยผ่านการทดลองที่เรียกว่า รุ้งกินน้ำ 

          การทดลองที่ 1 นำน้ำใส่อ่างแก้ว ประมาณครึ่งอ่าง นำกระจกเล็กๆจุ่มลงไปเฉียงทำมุมขึ้นมา แล้วจะเห็นการสะท้อนขึ้นมาเป็นสีรุ้งกินน้ำ
          การทดลองที่ 2 หันหลังให้ดวงอาทิตย์ แล้วฉีดน้ำ จากนั้นสังเกตจากละอองน้ำ รุ้งกินน้ำจะเกิดตรงข้ามกับพระอาทิตย์เนื่องมาจากการหักเหของละอองน้ำ
          คุณสมบัติ วัตถุแต่ละชนิดจะดูดคลื่นแสง สะท้อนกับวัตถุทำให้เห็นสีต่างๆ

เงา เป็นสิ่งที่คู่กับแสง เพราะเงาจะตรงกันข้ามกับแสง การทดลอง ส่องไฟตรงกับวัตถุจะเกิดเงาดำๆ บนพื้นที่วางวัตถุไว้ เป็นรูปวัตถุนั้นๆถ้าส่องตรงกับวัตถุเงาที่สะท้อนจะเป็น 2 เงา เนื่องจากแสงเดินทางผ่านเป็นเส้นตรงดูดกลืนแสงวัตถุมา เงาจะเกิดทุกครั้งที่มีวัตถุมาขวางทางเดินของแสง






สัปดาห์ที่ 4

สัปดาห์ที่ 4
บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 4
       วิชา : การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
       วัน/เดือน/ปี : 11 กันยายน พ.ศ. 2557
       ครั้งที่ : 4 กลุ่มเรียน : 101 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 น. ห้องเรียน : 233


ชั่วโมงที่ 4 ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้ได้เรียนเกี่ยวกับทักษะวิทยาศาสตร์

สรุป บทความของเพื่อน

หลักสูตรวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย  เนื้อหาสำคัญน้อยกว่าการค้นพบทดลอง ควรให้เด็กเรียนรู้ตามธรรมชาติ การเรียนรู้ คือการเล่น สสวท. จึงจัดทำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางให้ครูจัดการเรียนรู้ เพราะทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญกว่าเนื้อหา
5 แนวทางสอนคิดเติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล คิด - วิเคราะห์ - ประเมิน แนวการสอนที่ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก ครูกับเด็กออกไปหาความรู้ร่วมกัน
โครงการนักวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อให้เด็กได้คิด สังเกต และวิเคราะห์ สอนเกี่ยวกับดิน น้ำ ลม ไฟ
การสอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน  จัดกิจกรรมแยกขยะ ใช้ของอย่างประหยัด เพื่อให้เด็กรู้คุณค่าสิ่งแวดล้อม 


ความหมายของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้น และจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ อาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การทดลองเพื่อค้นหาความจริง เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่ยอมรับโดยทั่วไป

แนวคิดพื้นฐาน
1. การเปลี่ยนแปลง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีการเปลี่ยนแปลง
2. ความแตกต่าง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความแตกต่าง ยกเว้นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
3. การปรับตัว ทุกอย่างในโลกนี้ต้องมีการปรับตัว
4. การพึ่งพาอาศัยกัน
5. ความสมดุล

การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1. ขั้นกำหนดปัญหา
2. ขั้นตั้งสมมุติฐาน
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นลงข้อสรุป

เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1. ความอยากรู้ อยากเห็น 
2. ความเพียรพยายาม
3. ความมีเหตุผล
4. ความซื่อสัตย์
5. ความมีระเบียบ และรอบคอบ
6. ความใจกว้าง

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
1. ตอบสนองความต้องการตามวัย
2. พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
3. เสริมสร้างประสบการณ์ 

ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
1. พัฒนาการทางความคิดรวบยอดพื้นฐาน
2. พัฒนาทักษะการแสวงหาวามรู้ทางวิทยาศาสตร์ 
3. สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง 
    ฯลฯ

การนำไปประยุกต์ใช้
นำเทคนิคการสอนในการจัดกิจกรรม และการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย การตั้งคำถามปลายเปิดไปใช้สอนกับเด็กๆ เพื่อให้เด็กๆได้รู้จักการคิด ได้กล้าที่จะตอบคำถาม และกล้าที่จะแสดงออก


การประเมินผล [Evaluation]
ประเมินตนเอง[Self] : อยู่ในระดับดี เพราะว่าดิฉันยังไม่ค่อยกล้าที่จะตอบคำถามอาจารย์ แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและตั้งใจจดบันทึก
 ประเมินเพื่อน[Friends]  : อยู่ในระดับดี แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลาส่วนมากมีสายบางคน ตั้งใจเรียนและตั้งใจจดบันทึก

 ประเมินอาจารย์[Teacher]  : อยู่ในระดับดีมาก เพราะว่า อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในการที่จะสอนนักศึกษามาอย่างดี และอาจารย์ยังใช้วิธีการสอนแบบตั้งคำถามไปเรื่อยๆ ถามไปเรื่อยจนนักศึกษาจับใจความที่สำคัญได้แน่ชัด  

สัปดาห์ที่ 3

สัปดาห์ที่ 3
บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 3
       วิชา :
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน :
อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
       วัน/เดือน/ปี : 4 กันยายน พ.ศ. 2557
       ครั้งที่ : 3 กลุ่มเรียน : 101 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 น. ห้องเรียน : 233


ชั่วโมงที่ 3 ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากกลับบ้านที่ต่างจังหวัด จึงไปถามเนื้อหาการเรียนวันนี้จาก นางสาวพัชราวรรณ วารี ว่าวันนี้มีการเรียนการสอนอะไรบ้าง ดิฉันจึงสรุปเนื้อหาการเรียนการสอนของวันนี้ในรูปแบบ Mind Map ค่ะ


สรุปเนื้อหาการเรียนในวันนี้





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
          การนำเอาหลักทฤษฏีต่างๆมาเป็นแนวทางและการปฏิบัติ
ให้เหมาสมกับการจัดการศึกษาเพื่อเป้าหมายในการเรียนรู้ของเด็กที่ดีและมีคุณภาพ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้และง่ายต่อการอ่าน


สรุปบทความ

บทความ : เมื่อลูกน้อยเรียนรู้คณิต วิทย์จากเสียงดนตรี : บูรณาการกิจกรรมเพื่อสร้างนักวิทยาศาสตร์น้อย


บทความ: เมื่อลูกน้อยเรียนรู้คณิต วิทย์จากเสียงดนตรี : บูรณาการกิจกรรมเพื่อสร้างนักวิทยาศาสตร์น้อย


ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว หัวหน้าโครงการบูรณาการวิทย์-คณิต และเทคโนโลยีปฐมวัย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งเป็นวิทยากรอบรมครั้งนี้ พูดถึงกิจกรรมการบูรณาการดนตรีในการเรียนรู้คณิต-วิทย์ปฐมวัยว่า สาระสำคัญของการเรียนการสอนในรูปแบบนี้คือ กระบวนการจะไม่มีการบรรยาย ความรู้ที่เด็กได้รับมาจากการปฏิบัติจริง ครูเป็นผู้สร้างคำถาม เด็กลงมือปฏิบัติเพื่อหาคำตอบ และนำมาสรุปร่วมกัน เราจะเน้นให้เด็กได้คิด ได้ตั้งคำถาม เด็กเห็นขวด 1 ใบจะทำให้เกิดเสียงได้อย่างไร เด็กต้องมาคิดต่อ มาสืบเสาะหาความรู้ เด็กจะรู้จักการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง เปลี่ยนจากครูเป็นศูนย์กลาง เป็นการให้เด็กเป็นศูนย์กลางแทน การนำดนตรีเข้ามาเป็นตัวดำเนินกิจกรรมนั้น เสียงของคนตรีทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องของวิทยาศาสตร์ เช่น กำเนิดเสียงเกิดจากอะไร เกิดได้อย่างไร ส่วนจังหวะของดนตรีเป็นการเรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์ได้ ซึ่งกิจกรรมในรูปแบบนี้ทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และดนตรี กิจกรรมนี้ สสวท.ต้องการทำเป็นตัวอย่างการเรียนการสอนให้แก่คุณครูปฐมวัย ให้เห็นว่าวิทย์-คณิตนั้นสอดแทรกเรื่องดนตรีได้อย่างไร ซึ่งครูแต่ละคนจะต้องนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัยด้วยตนเอง


สัปดาห์ที่ 2

สัปดาห์ที่ 2
บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 2
       วิชา :
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน :
อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
       วัน/เดือน/ปี : 28 สิงหาคม  พ.ศ. 2557
       ครั้งที่ : 2 กลุ่มเรียน : 101 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 น. ห้องเรียน : 233

ชั่วโมงที่ 2 ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้เรียนเกี่ยวกับพัฒนาการ และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 

พัฒนาการ คือ เป็นตัวบอกความสามารถของเด็ก ว่าเด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง

พัฒนาการ 4 ด้าน











การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทั้ง 4 ด้าน เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
ขั้นที่ 1 : การรับรู้ > ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 > ไปยังสมอง
              วิธีการ > เรียนรู้ผ่านการเล่น > ทดลองและลงมือ      
คือ เด็กได้เรียนรู้โดยการลงมือกระทำกับวัตถุ โดนผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

เด็กปฐมวัย คือ เด็กแรกเกิด – 5ปี 11เดือน 29วัน

วิทยาศาสตร์ คือ สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว

เครื่องมือในการเรียนรู้ คณิต > ภาษา = ใช้ศึกษา > วิทยาศาสตร์



สรุป วิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย



          การนำไปประยุกต์ใช้
        การพัฒนาความก้าวหน้า โดยการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเก็บข้อมูลเพื่อความรู้ของตนเอง และผู้ที่ได้เข้ามาหาข้อมูลทุกท่าน สามารถนำไปใช้ในการเก็บข้อมูลหรือเผยแพร่ความรู้ได้ในหลายๆวิชา

          การประเมินผล [Evaluation]
ประเมินตนเอง[Self] : อยู่ในระดับปานกลาง เพราะว่าดิฉันยังไม่ค่อยเตรียมพร้อมสำหรับการเรียน อุปกรณ์การเรียน การจดบันทึกยังไม่พร้อม แต่ดิฉันแต่งตัวเรียบร้อย ถูกต้องตามกฎระเบียบ
ประเมินเพื่อน[Friends] : อยู่ในระดับปานกลาง เพราะว่าเป็นอาทิตย์แรกของการเปิดภาคเรียน อาจจะมีคุยกันบ้าง และยังมีมาสายกันบ้าง

ประเมินอาจารย์[Teacher] : อยู่ในระดับดีมาก เพราะว่า อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในการที่จะสอนนักศึกษามาอย่างดี และอาจารย์ยังให้คำแนะนำสำหรับนักศึกษาในการตัดสินใจเลือกวิธีที่จะเก็บผลงานและเก็บข้อมูล ระหว่างบล็อคกับแฟ้มสะสมผลงาน มีข้อแตกต่างกันอย่างไร