วันจันทร์

สัปดาห์ที่ 13

สัปดาห์ที่ 13
บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 13
       วิชา : การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
       วัน/เดือน/ปี : 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
       ครั้งที่ : 13 กลุ่มเรียน : 101 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 น. ห้องเรียน : 233

          วันนี้มีการนำเสนอวิจัย 7 เรื่อง
1.นางสาว กมลพรรณ แสงจันทร์
- ชื่อวิจัย : การส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา ของนักเรียนระดับอนุบาล 1 / 3
- ผู้วิจัย : นางสาวจุฑารัตน์ วรรณศรียพงษ์
- วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการสังเกตสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น
    2. เพื่อให้นักเรียนนำทักษะที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
- ผลจากการวิจัย : ภายหลังจากการส่งเสริมทักษะการสังเกตของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา พบว่าเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 ทั้ง 36 คน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามีทักษะการสังเกตสูงขึ้น
- เครื่องมือที่ใช้ :    1. เกมจับคู่ภาพเหมือน
        2. เกมจับคู่ภาพกับเงา
        3. เกมภาพตัดต่อ
        4. เกมสังเกตรายละเอียดของภาพ
- ทักษะทางวิทยาศาสตร์ : การจำแนกประเภท การวัด การลงความเห็นข้อมูล ทักษะการสังเกต
2.นางสาว กมลกาญจน์ มลสาคร
- ชื่อวิจัย : ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
- ผู้วิจัย : ศศิพรรณ สำแดงเดช
- วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยที่ได้ รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
- ผลจากการวิจัย : 1. เด็กปฐมวัยที่ไดรับการจดกัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสําคัญที่ .01 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจําแนก และการสื่อสารสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญที่ .01
2. ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายดาน คือ ด้านการสังเกต ด้านการจําแนก และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับพอใช้ หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทานโดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจําแนกและการสื่อสารอยู่ในระดับดี
- เครื่องมือที่ใช้ : 1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
     2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

- ทักษะทางวิทยาศาสตร์ : ทักษะการสังเกต การจําแนกประเภท และการสื่อความ
3.นางสาว นฤมล บุญคงชู
- ชื่อวิจัย : การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรูแบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
- ผู้วิจัย : ชยุดา พยุงวงษ์
- วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดการเรียนรูแบบเด็กนักวิจัย
 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนทดลองและหลังทดลอง
- ผลจากการวิจัย : ระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายด้าน สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดการเรียนรูแบบเด็กนักวิจัยและแตกต่างอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ แสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนรูแบบเด็กนักวิจัยช่วยส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
- เครื่องมือที่ใช้ : 1. แผนการจัดการเรียนรูแบบเด็กนักวิจัย
       2. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย
- ทักษะทางวิทยาศาสตร์ : ทักษะการสังเกต ทักษะการจําแนกประเภท ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล ทักษะการลงความเห็น ทักษะการพยากรณ์
4.นางสาว ปานัดดา อ่อนนวล
- ชื่อวิจัย :ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย
- ผู้วิจัย : ยุพาภรณ์ ชูสาย
- วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
                                 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง
- ผลจากการวิจัย : ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการ ใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยอยู่มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้ง โดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์สูงขึ้นกวาก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- เครื่องมือที่ใช้ : แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติและแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
- ทักษะทางวิทยาศาสตร์ : ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการหามิติสัมพันธ์ และทักษะการลงความเห็นข้อมูล
5.นาย ธนารัตน์ วุฒิชาติ
- ชื่อวิจัย : ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ
- ผู้วิจัย : ชนกพร ธีระกุล
- วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวกกานและแบบปกติ
- ผลจากการวิจัย : เด็กที่ได้รับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการจะมีทักษะทางวิทยาศาสตร์มากกว่าเด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ
- เครื่องมือที่ใช้ : แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการซึ่งผู้วิจัยสร้างทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
- ทักษะทางวิทยาศาสตร์ : การสังเกต การจำแนก การหามิติสัมพันธ์ การลงความคิดเห็น การแสดงปริมาณ
6.นางสาว ชนัฐถ์นันท์ แสวงชัย
- ชื่อวิจัย : การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
- ผู้วิจัย : ชนกพร ธีระกุล
- วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับก่อน-หลังการจัดกิจกรรมและศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
- ผลจากการวิจัย : เด็กมีการคิดวิจารณญาณทั้งภาพรวมและรายด้านสูงกว่าเด็กปกติ
- เครื่องมือที่ใช้ : แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
- ทักษะทางวิทยาศาสตร์ : การจำแนก การบอกรายละเอียด ความเหมือน-ต่าง
7.นางสาว ไลลา คนรู้
- ชื่อวิจัย : การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- ผู้วิจัย : นางสายทิพย์ ศรีแก้วทุม
- วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ
- ผลจากการวิจัย : เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับแบบปกติหลังการทดลองมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับสถิติ 0.5
- เครื่องมือที่ใช้ : แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
- ทักษะทางวิทยาศาสตร์ : การจำแนก การจัดประเภท

การนำไปประยุกต์ใช้
          การนำกิจกรรมแผนการสอนของเพื่อนที่นำมาเสนอไปปรับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการสอนเด็กปฐมวัย

การประเมินผล [Evaluation]
ประเมินตนเอง[Self] : อยู่ในระดับดี เตรียมความพร้อมในการนำเสนอวิจัย แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังเพื่อนสอน
ประเมินเพื่อน[Friends] : : อยู่ในระดับดี แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังเพื่อน ให้ความร่วมมือดี

ประเมินอาจารย์[Teacher] : อยู่ในระดับดีมาก เพราะว่า อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในการที่จะสอนนักศึกษามาอย่างดี 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น