วันพุธ

สัปดาห์ที่ 5

สัปดาห์ที่ 5
บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 5
       วิชา : การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
       วัน/เดือน/ปี : 18 กันยายน พ.ศ. 2557
       ครั้งที่ : 5 กลุ่มเรียน : 101 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 น. ห้องเรียน : 233


ชั่วโมงที่ 5 ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้อาจารย์สอนทำของเล่น

กิจกรรมในชั้นเรียน
อุปกรณ์     : 1.กระดาษ A4   
  2.ไม้ลูกชิ้นหรือไม้ตะเกียบ
  3.สีไม้หรือสีเมจิ 
  4.เทปใส

ขั้นตอนในการทำ


1. นำกระดาษ A4 1 แผ่น แบ่งออกเป็น 4 ส่วน


2. พับครึ่งกระดาษ ให้พอดีกัน


3. วาดภาพสิ่งที่เชื่อมโยงกัน ทั้ง 2 ด้าน
4. ระบายสีตกแต่งให้สวยงาม


5. พลิกกระดาษด้านที่ไม่มีรูปวาด นำไม้ลูกชิ้น หรือไม้ตะเกียบ มาวางแล้วติดเทปใส

6.พับกระดาษโดยให้รูปภาพอยู่ด้านนอก แล้วนำเทปใสมาติดตรงขอบ




7. ใช้มือจับที่ด้ามไม้ แล้วหมุน พลิกไป พลิกมา จะเกิดเป็นภาพที่เชื่อมโยงกัน


สรุป บทความของเพื่อน 


การนำไปประยุกต์ใช้
นำเทคนิคการสอนในการจัดกิจกรรมนำวัสดุใกล้ตัวที่สามารถหาได้ง่าย สามารถทำเองได้ มาประดิษฐ์เป็นของเล่นเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ และการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย การตั้งคำถามปลายเปิดไปใช้สอนกับเด็กๆ เพื่อให้เด็กๆได้รู้จักการคิด ได้กล้าที่จะตอบคำถาม และกล้าที่จะแสดงออก


การประเมินผล [Evaluation]
ประเมินตนเอง[Self] : อยู่ในระดับดี เพราะว่าดิฉันยังไม่ค่อยกล้าที่จะตอบคำถามอาจารย์ แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและตั้งใจจดบันทึก
ประเมินเพื่อน[Friends] : : อยู่ในระดับดี แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลาส่วนมากมีสายบางคน ตั้งใจเรียนและตั้งใจจดบันทึก
ประเมินอาจารย์[Teacher] : อยู่ในระดับดีมาก เพราะว่า อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในการที่จะสอนนักศึกษามาอย่างดี และอาจารย์ยังใช้วิธีการสอนแบบตั้งคำถามไปเรื่อยๆ ถามไปเรื่อยจนนักศึกษาจับใจความที่สำคัญได้แน่ชัด  


ความลับของแสง
สรุป วีดีโอ เรื่อง ความลับของแสง 
        แสง แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก มีความเร็วถึง 300000 กิโลเมตร/วินาที แสงจะช่วยให้มองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว ถ้าหากรอบตัวไม่มีแสงก็จะไม่สามารถมองเห็นวัตถุต่างๆได้ 
คุณสมบัติของแสง 

          การทดลองที่1 วิธีการทดลอง : นำกล่องใบใหญ่มีฝาปิด เจาะรูข้างๆกล่อง นำของต่างๆมาใส่กล่อง เช่น ตุ๊กตาจากนั้นปิดฝากล่อง แล้วมองผ่านรูที่เจาะจะไม่สามารถมองเห็น ตุ๊กตาเนื่องจากด้านในกล่องมีความมืดสนิท ค่อยๆเปิดฝากล่อง แล้วเจาะรูเพิ่ม เอาไฟฉายส่องไปในรูที่เจาะใหม่ จะเห็นของในกล่อง แสดงว่าเราจะสามารถมองเห็นวัตถุในกล่องได้ เพราะมีแสงส่องโดนวัตถุและแสงสะท้อนกระทบกับวัตถุเข้ามาที่ตาของเรา จึงสามารถมองเห็นวัตถุได้
        การทดลองที่ 2 วิธีการทดลอง : เปิดไฟในห้องมืด นำกระดาษแผ่นแรกวางคั่นแสงกับพื้นห้อง จะเห็นเพียงแสงที่ผ่านรูเท่านั้น แล้วลองเอาแผ่นที่ 2 ทับก็จะเห็นเพียงแสงที่ผ่านรูเหมือนกัน

          การทดลองที่ 3 วิธีการทดลอง : ส่องไฟจากภาพต้นแบบให้แสงผ่านรูเล็กๆ ภาพจะปรากฏบนกระดาษไข แล้วลองปรับภาพต้นแบบให้เลื่อนเข้า เลื่อนออก จะทำให้เกิดภาพเล็กภาพใหญ่ แต่จะเห็นเป็นภาพกลับหัวเพราะแสงวิ่งเป็นเส้นตรงตกกระทบด้านล่าง แล้วสะท้อนกลับด้านบนทำให้ภาพเป็นภาพกลับหัว จากการทดลองแสดงว่าคุณสมบัติของแสง คือ แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง ไปกระทบกับวัตถุและสะท้อนจากวัตถุเป็นเส้นตรงเหมือนกัน
        การสะท้อนของแสง 
          การทดลองที่1 วิธีการทดลอง : วางกระจกไว้ที่พื้น ฉายไฟฉายลงบนกระจกเงา แสงจะสะท้อนกลับมาเป็นแนวเส้นตรง เมื่อลองเปลี่ยนทิศทาง คือ หันแสงไปทางอื่นแสงจะสะท้อนไปทางตรงกันข้ามเสมอ เพราะลำแสงที่สะท้อนไปจะเป็นมุมที่เท่ากับมุมสะท้อนกลับ

     การทดลองที่2 วิธีการทดลอง : กระจกฮาไรโดสโคป นำกระจกเงา 3 บานมาติดกันให้เป็นสามเหลี่ยม เมื่อส่องภาพเข้าไปจะเกิดภาพมากมายเนื่องจาก การสะท้อนแสงและมุมกระจกจะทำให้เกิดภาพ การหักเหของแสง คือ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง เช่น การฉายแสงผ่านน้ำ ถ้าเป็นเส้นตรง แสงก็จะตรง ถ้าฉายแสงเฉียงแสงก็จะเฉียงตาม เนื่องจากน้ำมีความหนาแน่นมาก ทำให้แสงเคลื่อนที่ช้าการหักเหของแสงจะเดินทางจากมวลอากาศมาก ไปสู่มวลอากาศที่น้อย จึงเกิดการหักเห
          การทดลอง  อ่านหนังสือผ่านแก้วที่ใส่น้ำจนเต็ม จะพบว่าการหักเหของแสงจะกระจายออกทำให้ตัวหนังสือที่เห็นใหญ่ขึ้น

การทดลองการหักเหของแสงโดยผ่านการทดลองที่เรียกว่า รุ้งกินน้ำ 

          การทดลองที่ 1 นำน้ำใส่อ่างแก้ว ประมาณครึ่งอ่าง นำกระจกเล็กๆจุ่มลงไปเฉียงทำมุมขึ้นมา แล้วจะเห็นการสะท้อนขึ้นมาเป็นสีรุ้งกินน้ำ
          การทดลองที่ 2 หันหลังให้ดวงอาทิตย์ แล้วฉีดน้ำ จากนั้นสังเกตจากละอองน้ำ รุ้งกินน้ำจะเกิดตรงข้ามกับพระอาทิตย์เนื่องมาจากการหักเหของละอองน้ำ
          คุณสมบัติ วัตถุแต่ละชนิดจะดูดคลื่นแสง สะท้อนกับวัตถุทำให้เห็นสีต่างๆ

เงา เป็นสิ่งที่คู่กับแสง เพราะเงาจะตรงกันข้ามกับแสง การทดลอง ส่องไฟตรงกับวัตถุจะเกิดเงาดำๆ บนพื้นที่วางวัตถุไว้ เป็นรูปวัตถุนั้นๆถ้าส่องตรงกับวัตถุเงาที่สะท้อนจะเป็น 2 เงา เนื่องจากแสงเดินทางผ่านเป็นเส้นตรงดูดกลืนแสงวัตถุมา เงาจะเกิดทุกครั้งที่มีวัตถุมาขวางทางเดินของแสง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น